บทที่ 10 การให้บริการข้อมูลข่าวสาร

    ความหมายของคำว่าจำกัดความในพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร    คำจำกัดความในพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารราชการ พ.ศ. 2540 มีดังนี้      
     “ข้อมูลข่าวสาร หมายความว่า สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราว ข้อเท็จจริง ข้อมูล หรือสิ่งใดๆ ไม่ว่าการสื่อความหมายนั้นจะทําได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่าน วิธีการใดๆ และไม่ว่าจะได้จัดทําไว้ในรูปของเอกสาร แฟ้ม รายงาน หนังสือ แผนผัง แผนที่ ภาพวาด ภาพถ่าย ฟิล์ม การบันทึกภาพ หรือเสียง การบันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือวิธีอื่น ใดที่ทําให้สิ่งที่บันทึกไว้ปรากฏได้
     “ข้อมูลข่าวสารของราชการ หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับการดําเนินงานของรัฐหรือข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเอกชน
     หน่วยงานของรัฐ หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วน ภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ ส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ศาลเฉพาะในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดีองค์กรควบคุมการประกอบวิชาชีพ หน่วยงานอิสระของรัฐและหน่วยงานอื่น ตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
     เจ้าหน้าที่ของรัฐ หมายความว่า ผู้ซึ่งปฏิบัติงานให้แก่หน่วยงานของรัฐ
    ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของบุคคล เช่น การศึกษา ฐานะการเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชญากรรม หรือประวัติการทำงาน บรรดาที่มีชื่อของผู้นั้นหรือมีเลขหมาย รหัสหรือสิ่งบอกลักษณะอื่นที่ทำให้รู้ตัวผู้นั้นได้ เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ แผ่นบันทึกลักษณะเสียงของคนหรือรูปถ่าย และให้หมายความรวมถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของผู้ที่ถึงแก่กรรมแล้วด้วย เจ้าหน้าที่ของรัฐหมายความว่า ผู้ซึ่งปฏิบัติงานให้แก่หน่วยงานของรัฐ
     “คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
     คนต่างด้าว หมายความว่า บุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทยและไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยและนิติบุคคลดังต่อไปนี้
            (1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่มีทุนเกินกึ่งหนึ่งเป็นของคนต่างด้าวใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือให้ถือว่าใบหุ้นนั้นคนต่างด้าวเป็นผู้ถือ 
           (2) สมาคมที่มีสมาชิกเกินกึ่งหนึ่งเป็นคนต่างด้าว 
           (3) สมาคมหรือมูลนิธิที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ของคนต่างด้าว
           (4) นิติบุคคลตาม(1) (2) (3) หรือนิติบุคคลอื่นใดที่มีผู้จัดการหรือกรรมการเกินกึ่งหนึ่งเป็นคนต่างด้าว
         นิติบุคคลตามวรรคหนึ่ง ถ้าเข้าไปเป็นผู้จัดการหรือกรรมการ สมาชิกหรือมีทุนในนิติบุคคลอื่น ให้ถือว่าผู้จัดการหรือกรรมการ หรือสมาชิก หรือเจ้าของทุนดังกล่าวเป็นคนต่างด้าว
             มาตรา 5 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และมีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ 
กฎกระทรวงนั้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ 
          มาตรา 6 ให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการขึ้นในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานวิชาการและธุรการให้แก่คณะกรรมการ และคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ และให้คำปรึกษาแก่เอกชนเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
   
     คณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร
    ตามมาตรา 27 กำหนดให้มีคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารราชการ โดยผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการ ประกอบด้วยผู้ดำรงตำแหน่งดังนี้
         1. รัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน
         2. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
         3. ปลัดกระทรวงกลาโหม
         4. ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 
         5. ปลัดกระทรวงการคลัง
         6. ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
         7. ปลัดกระทรวงมหาดไทย
         8. ปลัดกระทรวงพาณิชย์
         9. เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
        10. เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
        11. เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
        12. เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
        13. ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
        14. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
        15. ผู้ทรงคุณวุฒิอื่นจากภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งอีก 9 คน เป็นกรรมการทั้งนี้ตามมาตรา 29 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปีนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง ผู้ที่พ้นจากตำแหน่งแล้วอาจได้รับแต่งตั้งใหม่ได้
           นอกจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งจะพ้นจากตำแหน่งตามวาระแล้วตามมาตรา 30 กำหนดให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งในกรณีต่อไปนี้
            (1) ตาย
            (2) ลาออก
            (3) คณะรัฐมนตรีให้ออกเพราะมีความประพฤติเสื่อมเสีย บกพร่อง หรือไม่สุจริตต่อหน้าที่หรือหย่อนความสารมารถ
            (4) เป็นบุคคลล้มละลาย
            (5) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
            (6) ได้รับโทษจำคุกโดยพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
        16. ให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี แต่งตั้งข้าราชการของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งเป็นเลขานุการ และอีกสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
  
        หน้าที่ของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร
        ตามมาตรา 28 คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
        1. สอดส่องดูแล และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินงานของเจ้าที่ของรัฐและหน่วยงานของรัฐในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
        2. ให้คำปรึกษาแก่เจ้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ เกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่ได้รับคำขอ
        3. เสนอแนะในการตราพระราชกฤษฎีกา และการออกกระทรวง หรือระเบียบของคณะรัฐมนตรีตามพระราชบัญญัตินี้
        4. พิจารณาและให้ความเห็นเรื่องร้องเรียนตามมาตรา 13 ที่บัญญัติว่า ผู้ใดเห็นว่าหน่วยงานของรัฐไม่จัดพิมพ์ข้อมูลข่าวสาร หรือไม่จัดข้อมูลข่าวสารไว้ให้ประชาชนตรวจดูได้ หรือไม่จัดหาข้อมูลข่าวสารให้แก่ตน หรือฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า หรือเห็นว่าตนไม่ได้รับความสะดวกโดยไม่มีเหตุอันควร ผู้นั้นมีสิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการ เว้นแต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการมีคำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร หรือคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้าน หรือคำสั่งไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
        5. จัดทำรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ เสนอคณะรัฐมนตรีเป็นครั้งคราวตามความเหมาะสม แต่อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
        6. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
        7. ดำเนินการเรื่องตามที่คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย

        
การประชุมของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร
        การประชุมของคณะกรรมการ ตามมาตรา 31 กำหนดให้มีกรรมการประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุมได้ และให้ประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุม หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุมแทน
        สำหรับการวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน แต่ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงชี้ขาด
        ทั้งนี้ตามมาตรา 32 ให้คณะกรรมการมีอำนาจเรียกให้บุคคลใดมาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งวัตถุเอกสาร หรือพยานหลักฐานมาประกอบการพิจารณาได้
        สำหรับกรณีที่หน่วยงานของรัฐปฏิเสธว่าไม่มีข้อมูลข่าวสารตามที่มีคำขอ ไม่ว่าจะเป็นกรณีมาตรา 11 ("...-ถ้าบุคคลใดขอข้อมูลข่าวสารอื่นใดของราชการและคำขอของผู้นั้นระบุข้อมูลข่าวสารที่ต้องการในลักษณะที่อาจเข้าใจได้ตามควร...") หรือมาตรา 25 ("...บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะได้รู้ถึงข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลเกี่ยวกับตน...") ซึ่งตามความในมาตรา 33 กำหนดว่า ถ้าผู้มีคำขอไม่เชื่อว่าเป็นความจริงและร้องเรียนต่อคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการมีอำนาจเข้าดำเนินการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารของราชการที่่เกี่ยวข้องได้ และแจ้งผลการตรวจสอบให้ผู้ร้องเรียนทราบ
       ทั้งนี้ หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องยินยอมให้คณะกรรมการหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายเข้าตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองของตนได้ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารที่เปิดเผยได้หรือไม่ก็ตาม
        นอกจากนี้ มาตรา 34 คณะกรรมการจะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่คณะกรรมการมอบหมายก็ได้
        
        คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร     
        การแต่งตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ตามมาตรา 35 กำหนดให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาต่างๆ ตามความเหมาะสม ตามสาขาความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของข้อมูลข่าวสารของราชการ เช่น ความมั่นคงของประเทศ เศรษฐกิจและการคลังของประเทศ หรือการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งตามข้อเสนอของคณะกรรมการ
       คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร มีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามมาตราดังต่อไปนี้
       1. ตามาตรา 14 "ข้อมูลข่าวสารของราชการที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์"
       2. มาตรา 15 "ข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผยก็ได้ โดยคำนึงถึงการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐ ประโยชน์สาธารณะและประโยชน์ของเอกชนที่เกี่ยวข้องกัน"
      3. มาตรา 17 คำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้าน "...ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเห็นว่าการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการใด อาจกระทบถึงประโยชน์เสียของผู้ใด ให้เจ้าที่ของรัฐแจ้งให้ผู้นั้นเสนอคำคัดค้าน..."
      4. มาตรา 25 คำสั่งไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล "...ถ้าบุคคลใดเห็นว่าข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนส่วนใดไม่ถูกต้องตามที่เป็นจริง ให้มีสิทธิยื่นคำขอเป็นหนังสือให้หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารนั้นได้..."
      ตามมาตรา 36 คระกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารคณะหนึ่งๆ ประกอบด้วยบุคคลตามความจำเป็น แต่ต้องไม่น้อยกว่า 3 คน และให้ข้าราชการที่คณะกรรมการแต่งตั้งปฏิบัติหน้าที่เป็นเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ
      ในกรณีพิจารณาเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานของรัฐแห่งใด กรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารซึ่งมาจากหน่วยงานของรัฐแห่งนั้น จะเข้าร่วมพิจารณาด้วยไม่ได้ และกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร จะเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการไม่ได้
      ในมาตรา 37 ให้คณะกรรมการพิจารณาส่งคำอุทธรณ์ให้คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร โดยคำนึงถึงความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารแต่ละสาขา ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่คณะกรรมการได้รับคำอุทธรณ์ ทั้งนี้ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้เป็นที่สุด และในการมีคำวินิจฉัยจะมีข้อสังเกต เสนอต่อคณะกรรมการ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีใดที่ตามที่เห็นสมควรก็ได้
       ตามความในมาตรา 38 อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารแต่ละสาขา จะพิจารณาและวินิจฉัย และองค์คณะในการพิจารณาและวินิจฉัย ให้เป็นไปตมระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมาตรา 39 ให้นำบทบัญญัติมาตรา 29 คือ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งได้รับแต่งตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปีนับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งและผู้ที่พ้นจากตำแหน่งแล้วอาจได้รับแต่งตั้งใหม่ได้ มาตรา 30 ผู้ทรงคุณวุฒิจะพ้นตำแหน่งเมื่อตาย ลาออก เป็นบุคคลล้มละลาย เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือคณะรัฐมนตรีให้ออกเพราะมีความประพฤติเสื่อมเสีย ไม่สุจริตต่อหน้าที่ และได้รับโทษ หรือจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด เว้นความผิดที่เป็นการกระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ มาตรา 32  คือ คณะกรรมการมีอำนาจเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำหรือส่งวัตถุเอกสาร หรือพยานหลักฐานมาประกอบการพิจารณาได้และบทกำหนดโทษที่ประกอบกับบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับกับคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารโดยอนุโลม
       การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
      การจำแนกข้อมูลข่าวสารตามวิธีเปิดเผยข้อมูลมี 3 กลุ่ม คือ
          1. ข้อมูลข่าวสารที่ต้องส่งไปพิมพ์เผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา (ตามมาตรา 7)
          2. ข้อมูลข่าวสารที่ต้องจัดไว้ให้ประชาชนตรวจดูได้ (ตามมาตรา 9)
          3. ข้อมูลข่าวสารที่ให้บริการแก่บุคคลเป็นการเฉพาะรายที่ยื่นคำขอ (ตามมาตรา 11)
        1. ข้อมูลข่าวสารที่ต้องส่งไปพิมพ์เผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา ตามมาตรา 7 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องส่งข้อมูลข่าวสารของราชการดังต่อไปนี้ ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา
             1.1 โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน
             1.2 สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญและวิธีการดำเนินงาน
             1.3 สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสาร หรือคำแนะนำในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ
             1.4 กฎ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือเวียน ระเบียบ แบบแผน นโยบาย หรือการตีความ ทั้งนี้ เฉพาะที่จัดให้มีขั้นโดยมีสภาพอย่างกฎ เพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชนที่เกี่ยวข้อง
             1.5 ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนดหรือข้อมูลข่าวสารใดที่มีการจัดพิมพ์เพื่อให้แพร่หลายตามจำนวนพอสมควรแล้ว ถ้ามีการลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาโดยอ้างถึงสิ่งพิมพ์นั้นก็ให้ถือว่าเป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติแล้ว ให้หน่วยงานของรัฐรวบรวมและจัดให้มีข้อมูลข่าวสารไว้เผยแพร่เพื่อขายหรือจำหน่ายจ่ายแจก ณ ที่ทำการของหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นตามที่เห็นสมควร
            ข้อมูลข่าวสารที่ต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ได้แก่ กฎ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือเวียน ระเบียบ แบบแผน นโยบาย หรือการตีความ ทั้งนี้ เฉพาะที่จัดให้มีขึ้นโดยมีสภาพอย่างกฎเพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชนที่เกี่ยวข้องนั้น ตามมาตรา 8 กำหนดว่าถ้ายังไม่ได้ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา จะนำมาใช้บังคับในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ผู้ใดไม่ได้ จะนำมาใช้บังคับในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ผู้ใดไม่ได้เว้นแต่ผู้นั้นจะได้รู้ถึงข้อมูลข่าวสารนั้นตามความเป็นจริงมาก่อนแล้วเป็นเวลาพอสมควร 
     
  2. ข้อมูลข่าวสารที่ต้องจัดไว้ให้ประชาชนตรวจดูได้ ตามมาตรา 9 หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ ในห้องที่จัดให้บริการข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน ตามหลักเกณฑ์และวิธีที่คณะกรรมการกำหนด ได้แก่ 
          2.1 ผลการพิจารณาหรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน รวมทั้งความเห็นแย้งและคำสั่งที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาวินิจฉัยดังกล่าว 
         2.2 นโยบายหรือการตีความที่ไม่เข้าข่ายต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา 7 ข้อ 4 
         2.3 แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่กำลังดำเนินการ 
         2.4 คู่มือหรือคำสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีผลกระทบถึงสิทธิหน้าที่ของเอกชน
         2.5 สิ่งพิมพ์ที่ได้มีการอ้างอิงถึงให้หน่วยงานของรัฐเผยแพร่ตามที่เห็นควร 
         2.6 สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอนหรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชนในการจัดทำบริการสาธารณะ
         2.7 มติคณะรัฐมนตรี หรือมติคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมาย หรือโดยมติคณะรัฐมนตรีทั้งนี้ ให้ระบุรายชื่อรายงานทางวิชาการ รายงานข้อเท็จจริง หรือข้อมูลข่าวสารที่นำมาใช้ในการพิจารณาไว้ด้วย
         2.8 ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนดข้อมูลข่าวสารที่จัดให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ ถ้ามีส่วนที่ต้องห้ามมิให้เปิดเผยอยู่ด้วย ให้ลบหรือตัดทอนหรือทำโดยประการอื่นใดที่ไม่เป็นการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้น ทั้งนี้บุคคลไม่ว่าจะมีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องหรือไม่ก็ตาม ย่อมมีสิทธิเข้าตรวจดู ขอสำเนาหรือขอสำเนาที่มีคำรับรองถูกต้องของข้อมูลข่าวสารได้
         ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ จะวางหลักเกณฑ์เรียกค่าธรรมเนียมก็ได้ โดยให้คำนึงถึงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยประกอบด้วย เว้นแต่จะมีกฎหมายเฉพาะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น สำหรับคนต่างด้าวจะมีสิทธิเพียงใดให้เป็นไปตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
         อย่างไรก็ตาม มาตรา 10 กำหนดว่า ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องส่งข้อมูลข่าวสารของราชการลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา และหน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ในห้องที่จัดให้บริการข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน จะต้องไม่กระทบถึงข้อมูลข่าวสารของราชการที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดให้มีการเผยแพร่หรือเปิดเผยด้วยวิธีการอย่างอื่น
       3. ข้อมูลข่าวสารที่ให้บริการแก่บุคคลเป็นการเฉพาะราย การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารแก่บุคคลเป็นการเฉพาะราย (ตามาตรา 11) สำหรับกรณีที่มีผู้มายื่นคำขอ โดยระบุข้อมูลข่าวสารที่ต้องการให้เข้าใจชัดเจน ให้หน่วยงานของรัฐผู้รับผิดจัดหาข้อมูลข่าวสารนั้นให้แก่ผู้ขอภายในเวลาอันสมควร เว้นแต่ผู้นั้นขอจำนวนมากหรือบ่อยครั้งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร โดยข้อมูลข่าวสารที่จัดให้มีลักษณะดังนี้ 
          3.1 กรณีข้อมูลข่าวสารมีสภาพที่อาจบุบสลายง่าย หน่วยงานของรัฐจะขอขยายเวลาในการจัดหาให้ หรือจะจัดทำสำเนาให้ ในสภาพอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ข้อมูลข่าวสารนั้นก็ได้ 
          3.2 ข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยงานของรัฐจัดหาให้ ต้องเป็นข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่แล้วในสภาพที่พร้อมจะให้ได้ มิใช่ต้องไปจัดทำ วิเคราะห์ จำแนก รวบรวม หรือจัดให้มีขึ้นใหม่เว้นแต่เป็นการแปรสภาพเป็นเอกสารจากข้อมูลข่าวสารที่บันทึกไว้ในระบบการบันทึกสภาพหรือเสียงระบบคอมพิวเตอร์ หรือระบบอื่นใด ตามที่คณะกรรมการกำหนด แต่ถ้าเห็นว่ามิใช่การแสวงหาผลประโยชน์ทางการค้า และเป็นเรื่องที่จำเป็นเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพสำหรับผู้นั้น หรือเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะ หน่วยงานของรัฐจัดหาข้อมูลข่าวสารนั้นให้ก็ได้
         ตามมาตรา 12 ในกรณีที่มีผู้ยื่นคำขอข้อมูลข่าวสารของราชการ แต่เป็นข้อมูลข่าวสารที่หน่วยงานของรัฐแห่งนั้นมิได้ครอบครอง หรือควบคุมดูแล ให้หน่วยงานของรัฐที่รับคำขอ ให้คำแนะนำเพื่อไปยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐที่ครอบครองหรือควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารนั้นโดยไม่ชักช้า แต่ถ้าหน่วยงานของรัฐผู้รับคำขอเห็นว่าข้อมูลข่าวสารที่มีคำขอ เป็นข้อมูลข่าวสารที่จัดทำโดยหน่วยงานแห่งอื่น และได้ระบุห้ามเปิดเผยไว้ตามระเบียบที่กำหนด ให้ส่งคำขอนั้นให้หน่วยงานของรัฐผู้จัดทำข้อมูลข่าวสารนั้นพิจารณาเพื่อมีคำสั่งต่อไป
         ทั้งนี้ มาตรา 13 บัญญัติว่า ผู้ใดเห็นว่าหน่วยงานของรัฐไม่จัดพิมพ์ข้อมูลข่าวสาร หรือไม่จัดข้อมูลข่าวสารไว้ให้ประชาชนตรวจดูได้ หรือไม่จัดหาข้อมูลข่าวสารให้แก่ตน หรือฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า หรือเห็นว่าตนไม่ได้รัยความสะดวกโดยไม่มีเหตุอันควรผู้นั้นมีสิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการ เว้นแต่เป็นเรียนเกี่ยวกับการมีคำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารหรือคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้าน หรือคำสั่งไม่แก่ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
         กรณีที่มีการร้องเรียนต่อคณะกรรมการ คณะกรรมการจะต้องปฏิบัติดังนี้
         1. ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 3. วันนับแต่วันที่ได้รับร้องเรียน
         2. กรณีมีเหตุจำเป็นต้องขยายเวลาออกไป ต้องแสดงเหตุผลและรวมเวลาทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน 60 วัน

        
 การสั่งเปิดเผยหรือมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ
         ในการสั่งเปิดเผยหรือมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการนั้น โดยคำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการจะกำหนดเงื่อนไขอย่างไรก็ได้ แต่ต้องระบุเหตุผลไว้ด้วยว่าเปิดเผยไม่ได้ เพราะเป็นข้อมูลข่าวสารประเภทใด และเพราะเหตุใด และให้ถือว่าคำสั่งเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ เป็นดุลยพินิจโดยเฉพาะของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามลำดับสายการบังคับบัญชา แต่ผู้ขออาจอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารได้
         สำหรับข้อมูลข่าวสารที่หน่วยงานต้องเก็บรักษาไว้เพื่อปฏิบัติงานตามภารกิจ แบ่งได้ 3 ประเภทคือ
         1. ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผย คือ ข้อมูลข่าวสารของราชการที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์จะเปิดเผยมิได้
         2. ข้อมูลข่าวสารที่อาจไม่ต้องเปิดเผย คือ ข้อมูลข่าวสารของราชการที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผยก็ได้ โดยคำนึงถึงการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐ ประโยชน์สาธารณะ และประโยชน์ของเอกชนที่เกี่ยวข้องประกอบกัน ได้แก่
             2.1 การเปิดเผยจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและความมั่นคงในทางเศรษฐกิจหรือการคลังของประเทศ
            2.2 การเปิดเผยจะทำให้การบังคับให้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพ หรือไม่อาจสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้ไม่ว่าเกี่ยวกับการฟ้องคดี การป้องกัน การปราบปราม การทดสอบ การตรวจสอบหรือการรู้แหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสารหรือไม่ก็ตาม
            2.3 ความเห็นหรือคำแนะนำภายในหน่วยงานของรัฐในการดำเนินการเรื่องหนึ่งเรื่องใดแต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงรายงานทางวิชาการ รายงานข้อเท็จจริง หรือข้อมูลข่าวสารี่นำมาใช้ในการทำความเห็นหรือคำแนะนำภายในดังกล่าว
            2.4 การเปิดเผยจะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือความปลอดภัยของบุคคลหนึ่งบุคคลใด
            2.5 รายงานการแพทย์หรือข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลซึ่งการเปิดเผยจะเป็นการรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลโดยไม่สมควร
           2.6 ข้อมูลข่าวสารของราชการที่มีกฎหมายคุ้มครองมิให้เปิดเผย หรือข้อมูลข่าวสารที่มีผู้ให้มาโดยไม่ประสงค์ให้ทางราชการนำไปเปิดเผยต่อผู้อื่น
           2.7 กรณีอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาคำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ จะกำหนดเงื่อนไขอย่างไรก็ได้ แต่ต้องระบุไว้ด้วยว่าเปิดเผยไม่ได้เพราะเป็นข้อมูลข่าวสารประเภทใดและเพราะเหตุใด และให้ถือว่าการมีคำสั่งเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการเป็นดุลยพินิจโดยเฉพาะขิงเจ้าหน้าที่ของรัฐตามลำดับสายการบังคับบัญชา แต่ผู้ขออุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารได้ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
       3. ข้อมูลข่าวสารที่เปิดเผยแก่เอกชนหรือบุคคลที่มายื่นคำขอ ได้แก่ ข้อมูลข่าวสารที่หน่วยงานเก็บรักษาไว้โดยไม่มีลักษณะข้อมูลตามมาตรา 14 และมาตรา 15 หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้เปิดเผยได้
            อย่างไรก็ตาม มาตรา 16 บัญญัติว่า เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติว่าข้อมูลข่าวสารของราชการจะเปิดเผยต่อบุคคลใดได้หรือไม่ ภายใต้เงื่อนไขเช่นใด และสมควรมีวิธีรักษามิให้รั่วไหลให้หน่วยงานของรัฐกำหนดวิธีการคุ้มครองข้อมูลข่าวสารนั้นตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ

      การเสนอคำคัดค้านของผู้มีประโยชน์ได้เสียในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
          ตามมาตรา 17 ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเห็นว่า การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการใดอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของผู้ใด ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐแจ้งให้ผู้นั้นเสนอคำคัดค้านภายในเวลาที่กำหนด แต่ต้องให้เวลาคำคัดค้านได้ ซึ่งต้องไม่น้อยกว่า 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ผู้ที่ได้รับแจ้งหรือผู้ที่ทราบว่าการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้นได้ โดยทำเป็นหนังสือถึงเจ้าหน้าที่ขอรัฐผู้รับผิดชอบในกรณีที่มีการคัดค้าน เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบต้องพิจารณาคำคัดค้าน และแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้คัดค้านทราบโดยไม่ชักช้า
          อย่างไรก็ตาม มาตรา 20 กล่าวคือ การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารใด แม้เข้าข่ายต้องมีความรับผิดชอบตามกฎหมาย ให้ถือว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ต้องรับผิดหากเป็นการกระทำโดยสุจริตในกรณีดังต่อไปนี้
          1. ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 15 ถ้าเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ดำเนินการโดยถูกต้องตามระเบียบตามมาตรา 16
          2. ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 15 ถ้าเจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับตามที่กำหนดในกฎหมายกระทรวงมีคำสั่งให้เปิดเผยเป็นการทั่วไปหรือเฉพาะแก่บุคคลใด เพื่อประโยชน์อันสำคัญยิ่งกว่าที่เกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะหรือชีวิต ร่างกาย สุขภาพ หรือประโยชน์อื่นของบุคคล และคำสั่งนั้นได้กระทำโดยสมควรแก่เหตุ ในการนี้จะมีการกำหนดข้อจำกัดหรือเงื่อนไขในการใช้ข้อมูลข่าวสารนั้นตามความเหมาะสมก็ได้
           การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้น ไม่เป็นเหตุให้หน่วยงานของรัฐพ้นจากความรับผิดตามกฎหมายหากจะพึงมีในกรณีดังกล่าว
    
            ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล  
             บุคคล หมายความว่า บุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย และบุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทยแต่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย (ตามมาตรา 21)
             มาตรา 22 สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง อาจออกระเบียบโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข มาใช้บังคับกับข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่อยู่ในความควบคุมดูแลของหน่วยงานดังกล่าวก็ได้ ยกเว้นหามบังคับตามบัญญัติ มาตรา 23 ข้อ 3
            นอกจากนี้ หน่วยงานของรัฐที่กำหนดในกฎกระทรวงนั้น เห็นว่าการเปิดเผยประเภทข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามมาตรา 23 ข้อ 3 จะเป็นอุปสรรคร้ายแรงต่อการดำเนินการของหน่วยงานก็อาจออกระเบียบหลักเกณฑ์ได้

            
การปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลและคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
           ในการจัดเก็บข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล และคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
           1. ต้องจัดให้มีระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลเพียงเท่าที่เกี่ยวข้อง และจำเป็นเพื่อการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์เท่านั้น และยกเลิกการจัดให้มีระบบดังกล่าวเมื่อหมดความจำเป็น
          2. พยายามเก็บข้อมูลข่าวสารโดยตรงจากเจ้าของข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่จะกระทบถึงประโยชน์ได้เสียโดยตรงของบุคคลนั้น
         3. จัดให้มีการพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา และตรวจสอบแก้ไขให้ถูกต้องอยู่เสมอเกี่ยวกับสิ่งดังต่อไปนี้
            3.1 ประเภทของบุคคลที่มีการเก็บข้อมูลไว้
            3.2 ประเภทของระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
            3.3 ลักษณะการใช้ข้อมูลตามปกติ
            3.4 วิธีการตรวจดูข้อมูลข่าวสารของเจ้าของข้อมูล
            3.5 วิธีการขอให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล
            3.6 แหล่งที่มาของข้อมูล
        4. ตรวจสอบแก้ไขข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลในความรับผิดชอบให้ถูกต้องอยู่เสมอ
        5. จัดระบบรักษาความปลอดภัยให้แก่ระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ตามความเหมาะสมเพื่อป้องกันมิให้มีการนำไปใช้โดยไม่เหมาะสมหรือเป็นผลร้ายต่อเจ้าของข้อมูล
          
         เอกสารประวัติศาสตร์
       ข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะเก็บรักษาหรือมีอายุครบกำหนดตามวรรคสองนับแต่วันที่เสร็จสิ้นการจัดให้มีข้อมูลข่าวสารนั้นให้หน่วยงานของรัฐส่งมอบให้แก่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากรหรือหน่วยงานอื่นของรัฐตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา เพื่อคัดเลือกไว้ให้ประชาชนได้ศึกษาค้นคว้า
      กำหนดเวลาต้องส่งข้อมูลข่าวสารของราชการตามวรรคหนึ่งให้แยกประเภท ดังนี้
      (1) ข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา 14 เมื่อครบเจ็ดสิบห้าปี 
      (2) ข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา 15 เมื่อครบยี่สิบปี
      กำหนดเวลาตามวรรคสอง อาจขยายออกไปได้ในกรณีดังต่อไปนี้ 
      (1) หน่วยงานของรัฐยังจำเป็นต้องเก็บรักษาข้อมูลข่าวสารของราชการไว้เองเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยโดยต้องจัดเก็บและจัดให้ประชาชนได้ศึกษาค้นคว้าตามที่จะตกลงกับหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร 
      (2) หน่วยงานของรัฐเห็นว่า ข้อมูลข่าวสารนั้นยังไม่ควรเปิดเผย โดยมีคำสั่งขยายเวลากำกับไว้เป็นการเฉพาะราย คำสั่งการขยายเวลานั้นให้กำหนดระยะเวลาไว้ด้วย แต่จะกำหนดเกินคราวละห้าปีไม่ได้
      การตรวจสอบหรือทบทวนมิให้มีการขยายเวลาไม่เปิดเผยจนเกินความจำเป็นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
     บทบัญญัติตามมาตรานี้ มิให้ใช้บังคับกับข้อมูลข่าวสารของราชการตามที่คณะรัฐมนตรีออกระเบียบกำหนดให้หน่วยงานของรัฐหรือ
เจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องทำลายหรืออาจทำลายได้โดยไม่ต้องเก็บรักษา

       
  บทกำหนดโทษ
          1. ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการตามมาตรา 32 คณะกรรมการมีอำนาจเรียกให้บุคคลใดมาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งวัตถุ เอกสาร หรือพยานหลักฐานให้ประกอบการพิจารณาได้ ดังนั้นตามมาตรา 40 กำหนดว่า ถ้าบุคคลใดไม่ปฏิบัติจะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
          2. ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อจำกัดหรือเงื่อนไขที่เจ้าห้าที่ของรัฐกำหนดตามมาตรา 20 คือ เจ้าหน้าที่ของรัฐดำเนินการโดยสุจริตและถูกต้องตามระเบียบ หรือกฎกระทรวงมีคำสั่งให้เปิดเผยเป็นการทั่วไป หรือเฉพาะแก่บุคคลใดเพื่อประโยชน์อันสำคัญยิ่งกว่า ที่เกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะหรือชีวิต ร่างกาย สุขภาพ หรือประโยชน์อื่นของบุคคล และคำสั่งนั้นได้กระทำโดยสมควรแก่เหตุ ดังนั้น ตามมาตรา 41 กำหนดว่า บุคคลใดไม่ปฏิบัติต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


ไม่มีความคิดเห็น: